
ป่าดิบเมืองร้อน
เป็นป่าไม่ผลัดใบ
เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก
ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง
มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ ป่าดิบเมืองร้อนจะเกิดขึ้นได้ต้องมีสภาพภูมิอากาศ
ค่อนข้างชื้นและฝนตกชุก ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมอย่างมาก
แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ ได้ดังนี้
ป่าดิบชื้น[แก้]
ดูบทความหลักที่ ป่าดิบชื้น
ป่าดิบชื้น
ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ
และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และที่ภาคใต้ กระจัดกระจาย ตามความสูงตั้งแต่ 0 - 100 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าภาคอื่น ๆ
ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด
ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยาง ไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนที่เป็นพืชชั้นล่างจะเป็นพวกปาล์ม ไผ่ ระกำหวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่าและ เถาวัลย์ชนิดต่างๆ
ป่าดิบแล้ง[แก้]
ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง
ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500
เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 ม.ม.
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน
ป่าดิบเขา[แก้]
ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล
ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป
ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ และบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เช่นที่ อช.ทุ่งแสลงหลวง และ อช.น้ำหนาว เป็นต้น มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง2,000
ม. พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย มีป่าเบจพรรณด้วย เป็นต้น บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์นกล้วยไม้ดิน มอสต่าง ๆ
ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร
ป่าสน[แก้]
ป่าสน (Coniferous Forest) มีกระจายอยู่เป็นหย่อม
ๆ ตามภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เพชรบูรณ์ และที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200
เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา
ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือสนสองใบและสนสามใบ และพวกก่อต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง
ๆ
ป่าพรุ[แก้]
ดูบทความหลักที่ ป่าพรุ
ป่าพรุ (Swamp Forest, Peat Swamp Forest) เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน
โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว
และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525)
พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350
ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900
ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง
จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000
ไร่ อย่างไรก็ตาม
พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว
และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น
คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ
ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว (ธวัชชัย และชวลิต, 2528) แบ่งเป็นย่อย
ๆ ได้ 2 ชนิดคือ
ป่าชายเลน[แก้]
ดูบทความหลักที่ ป่าชายเลน
ป่าชายเลน (Mangrove Swamp Forest) ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง
เช่น ตามชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูลแถบอ่าวไทยตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด และจากประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงนราธิวาส ไม้ที่สำคัญเช่น ไม้โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสมลำพู โพทะเล เป็นต้น
ป่าชายหาด[แก้]
ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด
ทรายและโขดหินพันธุ์ไม้จะต่างจากที่ที่น้ำท่วมถึง ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็มีสนทะเล
พืชชั้นล่างก็จะมีพวกตีนนก และพันธ์ไม้เลื้อยอื่น ๆ อีกบางชนิด ถ้าเป็นกรวดหรือหิน
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระทิง หูกวาง เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน[แก้]
สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดินรวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด
เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป
เช่น
สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัวและสภาพอุณหภูมิสูงสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน
และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเล
ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิด นับตั้งแต่สัตว์
ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ ตั้งแต่ ฟองน้ำ ซีเลนเตอเรท หนอนตัวแบน
หนอนปล้องหอยหมึก กุ้ง กั้ง ปูตลอดจนสัตว์มีกระดูกสัน หลังจำพวก ปลา
สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ต่างๆเหล่านี้
ส่วนใหญ่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อ ระบบนิเวศทะเล เป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น